OnePlus คือ บริษัท Start up จากเมืองจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งเริ่มต้นดำเนินการตั้งแต่ปี 2013 โดยมีผู้ร่วมก่อตั้งคือ Carl Pei และ Pete Lau อดีตรองประธานกรรมการบริษัท Oppo และ
ปัจจุบัน OnePlus ถูกถือหุ้นโดยบริษัทลูกของ Oppo แถมบริษัทแม่ของ Oppo ยังเป็นเจ้าของแบรนด์ Vivo ด้วย ซึ่งบอกได้เลยว่าท่ามกลางความโหดร้ายของตลาดสมาร์ทโฟนในยุคนั้น เรียกได้ว่าเป็นสงครามกันเลยทีเดียว ฉะนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่บริษัทหน้าใหม่จะเกิดขึ้นมาได้ เพราะลำพังบริษัทยักษ์ใหญ่ยังอยู่ยาก มีแต่ Samsung สู้กับ iPhone แข่งขันกันจนแบรนด์เก่าแก่ในตลาดจะตายกันหมด แต่ท่ามกลางมหาสงครามสมาร์ทโฟนในยุคนั้น OnePlus ก็ได้สร้างชื่อของตัวเองได้ด้วยความ “ต่าง” ทั้งทางด้านราคา และ ช่องทางการจำหน่าย รวมถึงแคมเปญต่าง ๆ
ทั้งนี้ ชื่อ OnePlus ยังมีความหมาย 2 ระดับด้วยกัน ได้แก่ ระดับแรกคือเป้าหมายของแบรนด์ ที่ไม่ได้เพียงต้องการเป็นที่หนึ่งในใจของผู้บริโภคและในตลาดสมาร์ทโฟน แต่เป็นยิ่งกว่าที่หนึ่งและอีกความหมายระดับนึงที่ลึกลงไปกว่านั้นก็คือ One หมายถึงตัวแทนลูกค้า 1 คน ที่ได้ลองใช้มือถือเครื่องนี้แล้วประทับใจมาก จนอยากบอกต่อเพื่อน (Plus) จนกลายเป็นแบรนด์ที่สร้างตัวได้จากสินค้าที่ดีจนทำให้เกิดการตลาดแบบปากต่อปากได้ในที่สุด ในส่วนสโลแกนที่ว่า Never Settle นั้น คนที่จริงจังกับการเอาใจลูกค้าคงเข้าใจคำมั่นสัญญานี้ดี เพราะทีมงานรู้ดีว่าทั้งตัวเองและแฟนๆ มือถือ มีความชอบ ความหวัง และความต้องการที่ไม่มีที่สิ้นสุด ฉะนั้นพวกเขาเองก็ไม่มีวันพึงพอใจกับสินค้าของตัวเองในวันนี้ หวังที่จะแก้ไขไปเรื่อยๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าเรื่อยไปนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม One Plus เปิดตัวด้วย
มือถือรุ่นแรก One Plus 1 ในปี 2004 และได้รับการตอบรับอย่างยอดเยี่ยม ด้วยสเปคดีที่สุดในยุค แต่ราคาถูกกว่าเทพอย่าง Samsung S5 เกือบครึ่ง พร้อมดึง Cyanogen Mod กลุ่มนักโมฯ รอมที่แอนดรอยด์สายแข็งรู้จักกันดีให้มาพัฒนารอมสำหรับ One Plus 1 ยืนยันความแรงทั้่งสเปค และ ซอฟท์แวร์ อีกทั้งยังใช้เครื่องหมายการค้า CyanogenMod ทำตลาดนอกประเทศจีนด้วย ยิ่งทำให้ One Plus ได้รับความสนใจในหมู่ผู้คนที่ชื่ชอบรมือถือระบบแอนดรอยด์ขึ้นไปอีก แม้ภายหลัง One Plus กับ Cyanogen จะแยกทางกันไปในเวลาอันสั้น
นอกจากนี้ ท่ามกลางการแข่งขันในตลาดสมาร์ทโฟนต่างๆ One Plus ก็ได้เริ่มต้นออกแคมเปญต่างๆ เพื่อให้เป็นที่รู้จักและคุ้นเคยกันมากขึ้น เช่น แคมเปญ Ladies First โดยให้ผู้หญิงถ่ายเซลฟี่ตัวเองกับโลโก้ One Plus โดยคณะกรรมการจะเลือกผู้ชนะ หลังจากนั้นก็ออกแคมเปญ “ทุบเครื่องเก่าทิ้งสิ แล้วเราอาจจะให้คุณซื้อ One Plus ในราคาแค่ 1 เหรียญ” แต่สำหรับแคมเปญนี้สร้างกระแสลบไปพอควร เนื่องจากโดนติเตียนว่าไม่คำนึงถึงความปลอดภัยจากการกำจัดทำลายอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์อย่างถูกวิธี จนทางบริษัทต้องเปลี่ยนจาก “ทุบ” เป็น “บริจาก” แทน แต่กระนั้นท่ามกลางกระแสลบต่าง ๆ แต่ยอดขายของ One Plus ก็ยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างมหาศาล โดยมียอดขาย One Plus 1 ไปร่วม 1 ล้าน 5 แสนเครื่อง
ต่อมาในปี 2015 ก็เปิดตัวด้วยรุ่นสอง คือ One Plus 2 ที่ยังคงคอนเซ็ปต์สเปคเทพ ราคาถูก จนบางเวปใช้คำว่า “ถูกจนต้องร้องขอชีวิต” พร้อมเพิ่มความเท่และน่าสนใจด้วยฝาหลังที่มีให้เลือกหลากหลายวัสดุตามภาพด้านบน นอกจากความเท่และน่าสนใจของฝาหลังที่สมัยนั้นไม่มีใครกล้าลอง งานเปิดตัวก็ฮือฮาไม่น้อย เพราะงานเปิดตัวไม่ขึ้นเวทีพรีเซ้นท์ เหมือนคนอื่นทั่วๆ ไป แต่เปิดตัวบนโลกเสมือนจริง / Virtual Reality ที่ต้องดูผ่าน One Plus Google Cardboard ผ่านแอพฯ เท่านั้น เรียกได้ว่าว่าเปิดตัว 2 รุ่นแรกมากได้อย่างฮือฮามาก แม้ในประเทศไทยจะได้ลูกค้าเฉพาะกลุ่มเท่านั้น แต่ภาพรวมถือว่าแจ้งเกิดได้ภายใต้ “มหาสงครามสมาร์ทโฟน” ในยุคนั้นที่ใครวิ่งไม่ทันก็ตกขบวนไปอย่าง Nokia, BlackBerry, Motorolla และ อีกหลายแบรนด์
ปัจจุบันภาพรวมของ One Plus นับเป็นมือถือที่น่าจับตามอง ด้วยสเปคและราคาถูกจนแทบไม่คิดอะไรมาก ด้วยลักษณะและทิศทางที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าในปีแรก ๆ อาจจะมีปัญหาหรือกระแสลบค่อนข้างเยอะ แต่การก้าวเข้ามาแย่งส่วนแบ่งการตลาดสมาร์ทโฟนได้ก็ต้องถือว่าการรันตีคุณภาพได้ไม่น้อยเลยทีเดียว