โปรเจคเตอร์ (Projector) คืออุปกรณ์ฉายภาพที่ใช้ในการนำเสนอข้อมูลต่างๆ โดยสามารถรองรับสัญญาณภาพจากคอมพิวเตอร์, เครื่องเล่นวีซีดี, เครื่องเล่นดีวีดี, และเครื่องกำเนิดภาพอื่นๆ ซึ่งปัจจุบันนี้โปรเจคเตอร์เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในหน่วยงานราชการ, สถานศึกษา, สำนักงานหรือบริษัทเอกชนรวมไปถึงการใช้งานเพื่อการตอบสนองความต้องการในด้าน Home Entertainment โดยใช้เชื่อมต่อเป็น Home Theater เพื่อเพิ่มเติมอรรถรสสำหรับความบันเทิงในบ้าน เป็นเครื่องฉายภาพขนาดใหญ่ที่สามารถนำภาพหรือข้อมูลต่างๆ แสดงให้คนดูได้หลายคน ปัจจุบันมี 2 ชนิด คือ
• โปรเจคเตอร์แบบ LCD (Liquid Crystal Display) เหมาะที่จะใช้งานเช่น Home Entertainment หรือห้องประชุมที่มีผู้ร่วมประชุมไม่มากนัก และการ Present ด้วยภาพ มีสีที่สด สว่าง น่าชม ให้สีที่เป็นธรรมชาติมากกว่า มีความคมชัดและแม่นยำ ที่ค่า lumen เท่ากัน LCD จะสว่างกว่า DLP
• โปรเจคเตอร์แบบ DLP (Digital Light Processing) เหมาะสำหรับการใช้กับห้องที่มีพื้นที่มาก และข้อมูลที่เป็นแบบตัวเลขหรือตาราง มีค่า Contrast สูง ช่องว่างระหว่างพิกเซลน้อยแต่ละพิกเซลเรียงตัวได้ชิดกันมาก มีน้ำหนักเบา อายุการใช้งานยาว
ทำไมคนทำงานหรือสำนักงานต้องใช้เทคโนโลยีนี้ : เพราะโปรเจคเตอร์มีความสามารถในการขยายสิ่งที่จะแสดงเนื้อหา ตาราง รูปภาพให้ใหญ่และเห็นได้ชัดขึ้น เมื่อมีการประชุมหรือแสดงตาราง กราฟต่างๆ เวลามีการประชุมหรือ Present งาน โปรเจคเตอร์จะทำให้คนในสำนักงานให้ความสนใจ ตั้งใจและมองเห็นสิ่งต่างๆ ที่สำนักงานจะนำเสนอมากขึ้น ทำให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน และโปรเจคเตอร์สามารถใช้งานได้ง่ายไม่ค่อยยุ่งยากและซับซ้อน
การใช้งานจะใช้เมื่อไหร่ : เมื่อมีการประชุม, การ Present, การสัมมนา, การระดมสมอง, การจัดอบรมพนักงาน, แสดงรูปภาพ กราฟหรือแผนภูมิต่างๆ
ในขณะที่อุปกรณือกีหนึ่งอย่างที่เป็นส่วนช่วยได้อย่างจอมอนิเตอร์ ก็มีประโยชน์คล้ายๆ กัน โดยจอมอนิเตอร์ก็มีหลายแบบ อาทิ แบบ LED เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในตระกูลไดโอดแบบหนึ่งซึ่งมีส่วนประกอบคือ สารกึ่งตัวนำเป็นตัวฐานซึ่งประกอบด้วยสารชนิด P และ N เมื่อนำสารทั้งสองชนิดประกอบติดกันแล้วหลังจากปล่อยกระแสไฟฟ้าที่ระดับหนึ่งเข้าไปยังส่วนประกอบทั้งสองจะเกิดปฏิกิริยาที่รอยต่อทำให้เกิดแสงขึ้นแสงที่เกิดขึ้นเป็นหารแลกเปลี่ยนอิเล็กตรอนของสารกึ่งตัวนำภายในตัว และจอมอนิเตอร์แบบ CRT จอ CRT ที่คล้ายจอเครื่องรับโทรทัศน์รุ่นเก่าที่มีน้ำหนักมากซึ่งผลิตจากหลอดสุญญากาศพิเศษที่สร้างภาพเมื่อสำแสงอิเล็กตรอนชนกับผิว phosphorescent จอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งตะส่วนมากใช้ CRT ซึ่งหลอด CRT ในจอคอมพิวเตอร์คล้ายกับหลอดภาพในเครื่องรับโทรทัศน์ โดยจะสร้างสำอิเล็กตรอน Anode และสร้างสนามแม่เหล็กแบบความถี่ต่ำ
ซึ่งรายละเอียดส่วนอื่น ๆ ภายในจอมอนิเตอร์ จะมีเรื่องของ Resolution หรือความละเอียดในการแสดงผลของภาพ โดยจะกำหนดเป็นเมะพิกเซลยิ่งมีค่ามากก็จะยิ่งมีความละเอียดสูงโดยกำหนดจากจำนวนเม็ดสี ต่อหนึ่งหน่วยความยาวของภาพจำนวนของ Pixel ที่ใช้บนจอภาพจะแสดงจำนวน Pixel เป็นแนวนอนและในแนวตั้ง ซึ่งความคมชัดของภาพขึ้นอยุ่กับความละเอียดของจอภาพความละเอียดของ Pixel บนจอภาพขนาดเล็ดจะขยายขึ้นบนจอภาพที่ใหญ่กว่าทำให้ความคมชัดลดลงเนื่องจากจำนวนนิ้วเพิ่มขึ้น สำหรับระบบจอภาพของคอมพิวเตอร์จะมีความละเอียดสูงสุดเนื่องจากมีความสามารถในการรวมแสงและละเอียด เช่น ระบบจอภาพสนับสนุนความละเอียดสูงสุด 1280 x 1023 pixel สามารถสนับสนุนความละเอียดหลายขนาดเช่น 1024 x 768 , 800 x 600 และ 640 x 480 ในการใช้ความละเอียดมากเพื่อทำให้ภาพมีความคมชัดแต่ภาพจะมีขนาดเล็กทำให้อ่านยากขึ้น นอกจากนี้ยังมีเรื่องของอัตราส่วนหน้าจอ (Display Ratio) ซึ่งเป็นอัตราส่วนความยาวต่อความกว้างของจอภาพซึ่งในอดีตนั้นจอภาพโทรทัศน์จะเป็นอัตราส่วน 4:3 โดยภาพรวมส่วนใหญ่จะเปลี่ยนมาเป็นแบบ 16:9 หรือเรียกแบบ Wide Screen ซึ่งมีลักษณะรูปทรงด้านแนวยาวมากขึ้นแบะลองรับระบบ High Definition