logo_mobile
search
สาขา

ถนอมทุกเมนูและความสุข ด้วยวิธีเลือกซื้อตู้เย็นให้ถูกใจทั้งครอบครัว

ตู้เย็นคือเครื่องใช้ไฟฟ้าในที่น่าจะสำคัญมาก ๆ สำหรับการดำเนินชีวิตของเราในปัจจุบันเลยก็ว่าได้ด้วยคุณสมบัติถนอมวัตถุดิบและอาหารประเภทต่าง ๆ ให้พร้อมนำมาเป็นเสบียงสำหรับทุกคนในครอบครัว โดยตู้เย็นที่เห็นในท้องตลาดนั้นก็มีมากมายหลายสเปคตลอดจนมีเทคโนโลยีที่น่าสนใจมากมายซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ที่ผู้ใช้งานทุกคนต้องพิจารณาให้ดีเพื่อความเหมาะสมในการนำมาใช้งาน ซึ่ง Power Buy ขออาสาแนะนำเรื่องราวน่ารู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับการเลือกซื้อตู้เย็นที่ดีที่สุดสำหรับบ้านคุณ

เลือกประเภทของตู้เย็น

อันดับแรกที่หลายคนใช้เป็นข้อตั้งต้นในการที่จะเลือกตู้เย็นเพื่อจะมาใช้งานทั่ว ๆ ไปสักเครื่องนั้นก็ต้องเป็นส่วนของประเภทนั่นเอง ซึ่งก็มีอยู่ด้วยกันหลัก ๆ  4 ประเภท และมีจุดเด่นที่แตกต่างกันตามความต้องการดังนี้

ตู้เย็นมินิบาร์ (Minibar)
เป็นตู้เย็นขนาดเล็ก มี 1 ประตู รูปทรงกะทัดรัด ถูกออกแบบเพื่อแช่ของกินของใช้จำรวนน้อย ๆ หรือขนาดเล็ก เช่น เครื่องดื่ม, เครื่องสำอางค์, อาหารสำเร็จรูป เป็นต้น บางรุ่นมีช่องแช่แข็ง (Fridge) มาให้ บางรุ่นก็มีช่องแช่แข็งเล็กๆ ด้วย เหมาะสำหรับผู้ที่มีพื้นที่จำกัด เพื่อประหยัดพื้นที่ภายในห้อง มักพบเห็นได้ทั่วไปใน ห้องนอนในบ้าน ,ห้องพักโรงแรม , หอพักนักศึกษา , คอมโดมิเนียม เป็นต้น

เลือกซื้อตู้เย็นมินิบาร์ >

ตู้เย็น 1 ประตู (One Door)
มีประตูเดียวขนาดใหญ่กว่ามินิบาร์ เหมาะสำหรับการใช้งานทั่ว ๆ ไป เคลื่อนย้ายสะดวก ภายในมีพื้นที่ให้ใส่ของต่าง ๆ เป็นสัดส่วน เช่น ช่องแช่แข็ง ,ชั้นวางของ , ลิ้นชักเก็บวัตถุดิบหรือผักสด ชั้นวางเครื่องดื่มหรือไข่ตรงบริเวณประตู เป็นต้น เป็นตู้เย็นพื้นฐานที่เหมาะกับครอบครัวนาดเล็กหรือผู้ที่อาศัยหอพัก, คอนโด ตู้เย็นชนิดนี้บางรุ่นมีน้ำแข็งเกาะหนาในช่องแช่แข็ง ทำให้กินไฟ แต่ปัจจุบันแบรนด์ต่าง ๆ ก็มีนวัตกรรมแก้ไขแล้ว

เลือกซื้อตู้เย็น 1 ประตู >



ตู้เย็น 2 ประตู (Two Door)

เป็นประเภทที่ได้รับความนิยมมาก เพราะแบ่งพื้นที่อย่างเป็นสัดส่วน โดยด้านบนสุดประมาณ 1 ส่วน 3 จะเป็นช่องแช่เข็ง ข้างล่างเป็นช่องแช่เย็นแช่ผักถนอมอาหารเหมือนตู้เย็น 1 ประตูทั่วไป เหมาะสำหรับครอบครัวขนาดกลางขึ้นไปหรือผู้ที่ต้องการฟังก์ชั่นในการใช้งานมากขึ้น สามารถเก็บรักษาของได้หลากหลายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ก็ควรดูเรื่องที่ติดตั้งให้ดีเพราะมีความสูงมากกว่าตู้เย็น 1 ประตูพอสมควร

เลือกซื้อตู้เย็น 2 ประตู >



ตู้เย็นมัลติดอร์ (Multi Door)

ตู้เย็นมัลติดอร์จะเป็นตู้เย็นที่มีประตูหลายบาน แล้วแต่การออกแบบของแต่ละแบรนด์ว่าอยากจะให้มีประตูตรงตำแหน่งใดบ้าง เพื่อความสะดวกสบายและความเอนกประสงค์ในการใช้งานตามไลฟ์สไตล์ สามารถใส่อาหารได้มากกว่าตู้เย็น 2 ประตูปกติ ตู้เย็นมัลติดอร์จะมีการดีไซน์รูปลักษณ์ที่หรูหราและรุ่นใหม่ ๆ ก็มักใส่เทคโนโลยีเกี่ยวกับ Smart Home เข้ามาเพิ่มติมด้วย เหมาะกับครอบครัวใหญ่รวมถึงกิจการต่าง ๆ

เลือกซื้อตู้เย็นมัลติดอร์ >



ตู้เย็นไซด์บายไซด์ (Side by Side)

ตู้เย็นไซด์บายไซด์ใช้การเปิดประตูซ้ายขวาออกจากกันคล้ายการเปิดหน้าต่าง ช่วยประหยัดพื้นที่ในการตีวงเปิดประตู สะดวกในการบรรจุหรือค้นหาข้างของภายในตู้เย็น ภายในมีพื้นที่กว้างสามารถเก็บของได้เยอะจุใจ บางรุ่นเพิ่มฟีเจอร์เพื่อความสะดวกสบายมาให้ เช่น สามารถกดน้ำดื่มผ่านประตูหรือความสามารถในด้าน Smart Home แต่ว่าก็ต้องดูเรื่องพื้นที่การติดตั้งให้ดีเนื่องจากมีขนาดค่อนข้างใหญ่

เลือกซื้อตู้เย็น ไซด์บายไซด์ >


ขนาดและความจุเป็นเรื่องสำคัญ

ขนาดและความจุของตู้เย็น เป็นข้อที่ควรนำมาพิจารณาแรก ๆ เมื่อคิดจะซื้อตู้เย็นสักเครื่อง เพราะถ้าเลือกผิดก็อาจทำให้เกิดผลเสียหลาย ๆ อย่าง เช่น ได้ตู้เย็นขนาดไม่เหมาะกับการใช้งาน ใส่ของต่าง ๆ ไม่เพียงพอ ถ้าจะซื้อที่ขนาดใหญ่ ๆ ไปเลยก็เปลืองไฟเปลืองความจำเป็น ดังนั้นเลือกให้เหมาะกับความต้องการจะดีที่สุด และเชื่อว่าหลายคนคงต้องเห็นหน่วยวัดที่ใช้เป็นสากลอย่าง “คิว” หรือ “คิวบิกฟุต” บนสเปคกันอย่างแน่นอน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการเลือกขนาดและความจุของตู้เย็น แต่ก็มีหลายคนที่ไม่เข้าใจว่า “คิว” นั้นคืออะไรและมีความสัมพันธ์กับขนาดและความจุอย่างไร ลองไปทำความเข้าใจพร้อม ๆ กันเลยครับ

การคำนวณขนาดตู้เย็น ใช้การคำนวณจากความจุของเนื้อที่ซึ่งจะได้ภายในตู้เย็น มีหน่วยมาตรฐานคือ “คิว” (คำว่าคิว มาจาก cubic foot/feet หมายถึงลูกบาศก์ฟุต) นั่นเอง โดยขนาดของตู้เย็นมีหน่วยเป็นลิตร เช่น 100 ลิตร (3.53 คิว) เป็นช่องแช่แข็ง กับ 140 ลิตร (4.94 คิว) สำหรับช่องธรรมดา ซึ่งในเรื่องของการคำนวณ จะมีสูตรในการคำนวณขนาดตู้เย็น ดังนี้

กว้าง (ฟุต) x ความสูง (ฟุต) x ความลึก (ฟุต) =  ขนาดคิวบิกฟุต
ตัวอย่าง : ตู้เย็นขนาด กว้าง 1 ฟุต 7 นิ้ว x สูง 3 ฟุต 9 นิ้ว x ลึก 1 ฟุต 7 นิ้ว
เมื่อนำมาคำนวณในหน่วยฟุต [(1+(7/12))x(3+(9/12))x(1+(7/12))] = 4.94 คิวบิกฟุต
ส่วนการแปลงลิตร เป็น คิว มีสูตรคือ 1 ลิตร = 0.0353147 คิว (โดยประมาณ)

โดยการเลือกขนาดคิวที่เหมาะสมอาจจะดูจากจำนวนผู้ใช้งานเป็นหลัก ดังนี้


- จำนวนคน 1-2 คน เหมาะกับตู้เย็น ขนาดประมาณ 7-13 คิว (200-380 ลิตร)
- จำนวนคน 3-4 คน เหมาะกับตู้เย็น ขนาดประมาณ 12 – 18 คิว (350-530 ลิตร)
- จำนวนคน 5 คนขึ้นไป เหมาะกับตู้เย็น ขนาดไม่ต่ำกว่า 15 คิว (440 ลิตร)
นอกจากจำนวนผู้ใช้งานแล้วก็อาจจะต้องมาดูปัจจัยอื่น ๆ ด้วยอย่างเช่น 

- พื้นที่ในการติดตั้ง โดยเฉพาะผู้อาศัยอยู่ในหอพักหรือคอนโดซึ่งมักจะมีพื้นที่จำกัด ดังนั้นวัดขนาดของพื้นที่ให้ดีและนำมาเปรียบเทียบกับสูตรเพื่อที่จะได้จำนวนคิวของตู้เย็นที่พอดีกับบริเวณ

- ไลฟ์สไตล์การทานอาหารของแต่ละครอบครัว เพราะจะมีความแตกต่างกัน บางครอบครัวอาจจะเน้นทานผัก ผลไม้ ซึ่งก็ควรเลือกที่มีพื้นที่ในการเก็บค่อนข้างมาก บางบ้านชอบทานอาหารสำเร็จรูป ก็อาจจะเลือกที่มีช่องแช่แข็งขนาดใหญ่หรือถ้าทำอาหารเองบ่อย ๆ ต้องมีพื้นที่เก็บวัตถุดิบ ซึ่งทั้งหมดก็เกี่ยวเนื่องกับตู้เย็นที่มีคิวใหญ่ขึ้นนั่นเอง

ระบบทำความเย็น คอมเพรสเซอร์ (Compressor) และ อินเวอร์เตอร์คอมเพรสเซอร์ (Inverter Compressor)



การทำความเย็นของตู้เย็นนั้นต้องอาศัยสิ่งที่เรียกว่า คอมเพรสเซอร์ (Compressor) โดยตู้เย็นที่ใช้คอมเพรสเซอร์ธรรมดาตัวมอเตอร์จะทำงานด้วยความเร็วคงที่ซึ่งการควบคุมอุณหภูมิรวมถึงการประหยัดไฟจะไม่โดดเด่นนัก แต่ว่าในปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ชื่อว่าอินเวอร์เตอร์คอมเพรสเซอร์ (Inverter Compressor) ขึ้นมา ซึ่งสามารถควบคุมความเร็วของมอเตอร์ในคอมเพรสเซอร์ได้อย่างเหมาะสม สามารถทำความเย็นได้รวดเร็วกว่า เมื่อแช่ของใหม่ ๆ เข้าไป แต่ว่าเมื่อปิดตู้เย็นนาน ๆ ตู้เย็นอินเวอร์เตอร์คอมเพรสเซอร์ จะคอยควบคุมความเสถียรของความเย็นภายในตู้โดยลดรอบการหมุนของมอเตอร์จึงใช้พลังงานน้อยกว่า 20-40% จากคอมเพรสเซอร์แบบเดิม ปัญหาเรื่องน้ำแข็งเกาะภายในจึงแทบไม่มี อีกทั้งมีอายุการใช้งานของ Compressor ยาวนานกว่าและมีเสียงรบกวนขณะทำงานน้อยกว่าอีกด้วย



การละลายน้ำแข็ง




ในตู้เย็นบางรุ่นโดยเฉพาะแบบที่ไม่ได้ใช้อินเวอร์เตอร์คอมเพรสเซอร์อุณหภูมิในตัวเครื่องอาจต่ำถึง 0°C เกิดการควบแน่นของหยดน้ำก่อตัวเป็นชั้นน้ำแข็งหนา ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำความเย็นและเปลืองไฟ แบรนด์ผู้ผลิตต่าง ๆ จึงใส่กระบวนการละลายน้ำแข็งขึ้นมาซึ่งหลัก ๆ จะเป็น 2 แบบ ไม่ว่าจะด้วยตัวผู้ใช้เองหรือแบบอัตโนมัติ ดังนี้



- Direct Cool Fridge

ตู้เย็นที่ใช้กระบวนการนี้โดยเฉพาะประเภทประตูเดียวที่ไม่ได้ใช้อินเวอร์เตอร์คอมเพรสเซอร์จะไม่สามารถควบคุมการกระจายลมเย็นได้ นำไปสู่การระบายความร้อนที่ไม่สม่ำเสมอ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดน้ำค้างแข็งและน้ำแข็งเกาะบนช่องแช่แข็งของเรา ทำให้เราต้องละลายน้ำแข็งเป็นประจำ โดยการกดปุ่มภายในตัวเครื่องและรอให้น้ำแข็งละลาย เทคโนโลยีนี้ถูกพบได้กับตู้เย็นหนึ่งประตูทั่วไป

-  Frost Free Fridge

เทคโนโลยีนี้จะละลายน้ำแข็งให้อัตโนมัติเป็นประจำ ทำให้ไม่มีการสะสมของน้ำแข็ง มีช่องระบายอากาศขนาดเล็กซึ่งจะให้อากาศเย็นกระจายไปทั่วให้ความเย็นสม่ำเสมอ มักจะมีอยู่ในตู้เย็นสองประตู แบบมัลติดอร์ หรือ ไซด์บายไซด์

คุณสมบัติพื้นฐานของตู้เย็นที่ต้องมี




ก่อนจะไปดูถึงความพิเศษและคุณสมบัติอื่น ๆ ของตู้เย็นควรเริ่มต้นจากคุณสมบัติพื้นฐานกันก่อน โดยสิ่งที่เป็นเช็คลิสต์ซึ่งควรพิจารณามีดังนี้


ลิ้นชักช่องแช่แข็งต้องมีช่องแยกภายในอีก
เพื่อปรับอุณหภูมิของอาหารที่แช่อย่างเหมาะสม


ระบบควบคุมความเย็นของช่องแช่ผักและผลไม้ จะต้องเหมาะสม
เพราะผักและผลไม้สดมีความอ่อนไหวกับเรื่องอุณหภูมิมาก



ชั้นวางบริเวณข้างประตูจะต้องมีขนาดกว้างและแข็งแรง
พอที่จะสามารถแช่ขวดน้ำและเครื่องดื่มต่าง ๆได้อย่างมั่นคง


วัสดุไม่เปราะหักง่าย งานประกอบต้องมั่นคงแข็งแรง
เพื่อพร้อมกับการรองรับน้ำหนักของที่แช่ได้ทุกรูปแบบ


ฟีเจอร์เสริมดี ๆ โดนใจ




ฟีเจอร์เสริมคือคุณสมบัติซึ่งเพิ่มเข้ามาเพื่ออำนวยความสะดวกสบายในการใช้งานตู้เย็นขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานว่าต้องการใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติเหล่านั้นในชีวิตประจำวันหรือไม่หรือไม่ ซึ่งฟีเจอร์ที่นิยมในปัจจุบันมี ดังนี้




ตู้เย็นบางรุ่นสามารถกดน้ำเย็นหรือน้ำแข็งที่ด้านหน้าได้โดยไม่
ต้องเปิดประตู แต่ก็อาจจะต้องใช้พื้นที่แช่แข็งเกือบ 30%
นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องเปลี่ยนไส้กรองน้ำเป็นระยะเพื่อสุขอนามัย


ระบบกรองอากาศ (Air filtration) สามารถกำจัดกลิ่นที่รุนแรง
ออกจากอาหารได้โดยใช้ตัวกรองพิเศษ มันทำให้อากาศมีความสด
ใหม่และไม่มีกลิ่นปะปนกันภายในตู้เย็น



แผงควบคุมการทำงาน (Programmable control pad) เป็นแผงปุ่ม
ตั้งค่าอุณหภูมิ ล็อกความเย็น เช็กตัวกรอง และระดับน้ำต่าง ๆ ใน
เครื่องซึ่งสามารถปรับได้ทันทีจากหน้าตู้





ในรุ่นที่ราคาสูง ๆ เริ่มใส่ IoT (Internet of Things) มาให้
สามารถเชื่อมต่อกับ Smart Device เพื่อตั้งค่าต่าง ๆ ผ่านเสียงพูดได้
ดูของภายในผ่านจอแบบไม่ต้องเปิดประตู หรือสั่งวัตถุดิบผ่านร้านค้า
ออนไลน์ผ่านหน้าจอบนตู้เย็นได้ทันที เป็นต้น



ระบบประหยัดพลังงาน (Energy-saving models)ช่วยให้ตู้เย็น
ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพแต่ว่างดใช้พลังงานที่ไม่จำเป็นช่วยลดค่าไฟ
ในแต่ละเดือน




อย่ามองข้ามเรื่องการประหยัดไฟจากฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 แบบใหม่



ขอบคุณภาพประกอบจากเว็บไซต์ กฟฝ. http://labelno5.egat.co.th


ตู้เย็นเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าอันดับต้น ๆ ในเรื่องการกินไฟ โดยเฉพาะตู้เย็นขนาดใหญ่ เนื่องจากจำเป็นต้องทำงานและรักษาความเย็นอยู่ตลอดเวลา ยิ่งถ้า เปิด-ปิด บ่อย ๆ ก็ต้องใช้กำลังไฟมาก เพื่อทำให้อุณหภูมิกลับมาเป็นปกติดังเดิม ทาง กฟผ. จึงกำหนดมาตรฐานการประหยัดไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้ารวมถึงตู้เย็นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 ในรูปแบบฉลากแสดงตัวเลขการประหยัดไฟ ช่วยให้ผู้บริโภคเลือกตัดสินใจซื้อตู้เย็นได้ง่ายขึ้น โดยตู้เย็นที่ได้รับการติดฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 จะต้องผ่านการทดสอบจาก สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (สฟอ.) ด้านพลังงานและด้านปริมาตรเรียบร้อยแล้ว ในระยะหลังได้เพิ่มความสะดวกสบายมีการเพิ่ม QR Code เพื่อไว้สแกนกับ App “Label No.5” เพื่อตรวจสอบข้อมูลและป้องกันสินค้าที่ใช้ฉลากเบอร์ 5 ปลอม



ขอบคุณภาพประกอบจากเว็บไซต์ กฟฝ. http://labelno5.egat.co.th


โดยตั้งแต่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นมาทาง กฟผ. ได้ประกาศใช้ “ฉลากเบอร์ 5 แบบใหม่” ซึ่งหลัก ๆ มีการเพิ่มดาวขึ้นมาบนฉลาก 4 รูปแบบคือ แบบไม่มีดาว จะประหยัดไฟเหมือนกับเบอร์ 5 เดิมทุกประการ และ แบบ 1 ดาว แบบ 2 ดาว แบบ 3 ดาว โดยทั้ง 3 แบบหมายถึงยิ่งดาวเยอะจะยิ่งมีประสิทธิภาพประหยัดไฟมากขึ้นนั่นเอง  นอกจากนี้ที่ตัวฉลากยังมีข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นให้ได้พิจารณากัน


เลือกซื้อตู้เย็นกับ Power Buy พร้อมคุณภาพสินค้าและการบริการที่คุณพอใจ


สำหรับใครที่กำลังมองหาตู้เย็นดี ๆ ไว้ประจำบ้านหรือที่พัก Power Buy ได้รวบรวมตู้เย็นคุณภาพดีฟีเจอร์โดนใจจากหลากหลายแบรนด์มาให้ได้เลือกกันอย่างจุใจผ่านชองทางออนไลน์ ครบด้วยบริการติดตั้งและจัดส่งฟรีตามเงื่อนไข Power Buy Promises พร้อมโปรโมชั่นเพื่อการ Shop ไร้ขีดจำกัดของคุณอีกมากมาย!