logo_mobile
search
สาขา
เครื่องอบผ้ากับการเลือกซื้อให้ถูกใจ
การซักผ้าเป็นงานบ้านที่จำเป็นต้องอาศัยเรื่องของดินฟ้าอากาศในขั้นตอนสุดท้ายอย่างการตากผ้าเป็นอย่างมากเพื่ออาศัยความร้อนจากแสงแดดทำให้ผ้าที่ซักแห้ง ไม่มีกลิ่นอับ และบางครั้งฟ้าฝนก็ไม่เป็นใจให้ลุล่วงไปด้วยดี ต้องเก็บมาตากในร่มจนเกิดปัญหามากมายตามมา ซึ่งอุปกรณ์อย่างเครื่องอบผ้าได้เข้ามาเป็นฮีโร่ในการจัดการขั้นตอนนี้ให้ผ้าแห้งได้ดั่งใจ ส่งให้เป็นอุปกรณ์ยอดนิยมของผู้ใช้งานยุคใหม่ Power Buy จึงอยากจะพาทุกท่านที่กำลังสนใจจะซื้อเครื่องอบผ้าไปดูข้อมูลหลาย ๆ อย่างก่อนจะเป็นเจ้าของ
ประโยชน์ของเครื่องอบผ้า
ประโยชน์ที่เด่นชัดของเครื่องอบผ้าก็คงไม่พ้นเรื่องของการทำให้ผ้าแห้งหลังซักอย่างรวดเร็วอยู่แล้ว แต่ว่าถ้าหากมองให้กว้างออกไปก็สามารถแจกแจงประโยชน์ได้อีกเยอะดังนี้

- ซักผ้าได้ตลอดเวลา เช้า สาย บ่าย ค่ำ ตลอดจนทุกสภาพอากาศ

- อบผ้าได้แห้งสนิท สามารถนำมาใส่ได้ทันที

- ไร้กลิ่นอับ เพราะว่าไม่จำเป็นต้องเก็บผ้าตอนฝนตกทั้ง ๆ ยังชื้นอยู่ 

- เนื้อผ้าเป็นทรงและนุ่มกว่าการนำไปตากแดด เพราะการอบทำให้ผ้าไม่แข็งกระด้าง 

- รักษาสีและเนื้อผ้าไม่ให้เสียหายจากการโดนแดดเลีย 

- ประหยัดพื้นที่ตากผ้า โดยเฉพาะผู้ที่อยู่หอพักหรือคอนโดก็ไม่จำเป็นต้องมีระเบียงกว้าง ๆ ไว้เพื่อตากผ้า

- ลดอาการภูมิแพ้เนื่องจากการตากผ้ากลางแจ้งอาจจะทำให้เสื้อผ้าโดนฝุ่นหรือเกสรดอกไม้ติดมาได้ 
ประเภทของเครื่องอบผ้า
อันดับแรกเรามาดูประเภทของเครื่องอบผ้ากันก่อน ซึ่งก็มีอยู่ด้วยกันหลัก ๆ  2 ประเภท และมีจุดเด่นที่แตกต่างกันตามการใช้งานดังนี้

เครื่องอบผ้าโดยเฉพาะ (Dryers)

เครื่องอบผ้าโดยเฉพาโดยทั่วไปจะออกแบบคล้ายเครื่องซักผ้าฝาหน้า มีระบบควบคุมการทำงานเพื่อการอบผ้าอย่างเดียว ไม่มีโหมดซักล้างใด ๆ จึงมีประสิทธิภาพในการอบผ้าดีและมัฟังก์ชั่นเฉพาะทาง เหมาะกับบ้านที่มีเนื้อที่เยอะพอสมควรเพราะต้องมีที่วางเครื่องซักผ้าด้วย 

เครื่องซักอบผ้า (Dryers 2 in 1)

เครื่องซักอบผ้ามีทั้งระบบซักล้างหรือเรียกง่าย ๆ ว่าเป็นเครื่องซักผ้าในตัว เหมาะกับบ้านหรือที่อยู่ซึ่งมีเนื้อที่จำกัดไม่สะดวกกับการวางอุปกรณ์เยอะ ๆ  แต่ประสิทธิภาพในการอบผ้าอาจไม่ดีเท่าเครื่องอบผ้าโดยเฉพาะ แต่โดยรวมก็ได้เรื่องความอเนกประสงค์ของการใช้งานและความคุ้มค่า

ระบบการทำงานของเครื่องอบผ้า
1. เครื่องอบผ้าแบบท่อลมร้อน (Vented)

เป็นเครื่องอบผ้าที่มีราคาเฉลี่ยถูกกว่าแบบอื่น หลักการทำงานของตัวเครื่องก็คือใช้ลมร้อนเป่าเสื้อผ้าให้แห้งผ่านท่อลมร้อนออกสู่ตัวเครื่องผ่านท่อ ซึ่งข้อจำกัดของเครื่องอบผ้าชนิดก็คือมีขั้นตอนการติดตั้งที่ค่อนข้างยากต้องเจาะผนังหรือใช้งานในพื้นที่ที่สามารถต่อท่อระบายอากาศได้ ซึ่งไม่เหมาะกับพื้นที่จำกัดเช่นหอพักหรือคอนโด

2. เครื่องอบผ้าแบบควบแน่น (Condenser)

ค่อนข้างได้รับความนินมจากผู้ใช้เนื่องจากแค่เสียบไฟก็ใช้งานได้เลย มีขนาดค่อนข้างเล็กจัดวางง่าย หลักการทำงานจะคล้ายๆ กันแบบแรกคือเป่าลมร้อนเพื่อให้เสื้อผ้าแห้ง แต่จะมีการควบแน่นเป็นไอน้ำพักไว้ในภาชนะแล้วถอดไปทิ้งหลังใช้งานเสร็จแทนที่การต่อท่อหรือเจาะผนัง ข้อเสียของเครื่องอบผ้าแบบนี้คือมีความร้อนสะสมค่อนข้างสูงจึงเหมาะกับการติดตั้งบริเวณอากาศถ่ายเท

3. เครื่องอบผ้าระบบปั๊มความร้อน (Heat Pump)

การทำงานคล้ายเครื่องอบผ้าแบบควบแน่นแต่มีการตัดขดลวดทำความร้อนออกไป จึงทำให้อุณหภูมิต่ำกว่า เครื่องอบผ้าประเภทนี้จึงทำความร้อนได้ไม่สูงจนเกินไปเหมาะกับเสื้อผ้าที่ต้องการการถนอม แต่อาจต้องใช้เวลาให้ผ้าแห้งสนิทนานขึ้น

4. เครื่องอบผ้าลมร้อนแบบพกพา (Portable Venting)

มีการใช้กระโจมฟลอยด์เป็นวัสดุหลัก แล้วนำเสื้อผ้าไปแขวนไว้ภายใน ถึงแม้จะไม่ได้สร้างลมร้อนได้มากเท่าเครื่องอบผ้าระบบอื่น แต่ด้วยข้อดีในการจัดเก็บและพกพาก็ถือเป็นคำตอบที่ดีของคนไม่มีพื้นที่เยอะหรือคนที่ต้องเดินทางบ่อย ๆ นั่นเอง
ขนาดตัวเครื่องที่เหมาะสม
เครื่องอบผ้าถ้าจะวัดกันที่ขนาดมาตรฐานจะวัดกันที่ความจุของถังตั้งแต่ขนาด 4 กิโลกรัม ไปจนถึงขนาด 10 กิโลกรัม ซึ่งควรให้เหมาะสมกับจำนวนผู้ใช้งาน โดยถ้าขนาด 4-6 กิโลกรัม เหมาะกับการใช้งาน 2 คนหรือครอบครัวขนาดเล็ก ขนาด 7-8 กิโลกรัม เหมาะกับการใช้งาน 3-5 คน หรือครอบครัวขนาดกลาง และขนาด 9-10 กิโลกรัม เหมาะสำหรับการใช้งาน 5-10 คนหรือครอบครัวขนาดใหญ่
พื้นที่ในการตั้งวาง
พื้นที่ในการตั้งวางเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามเพราะว่าเครื่องอบผ้าทำงานโดยมีความร้อนเป็นส่วนประกอบหลัก ต้องมีอากาศถ่ายเทดีพอสมควรและอย่าอยู่ใกล้วัตถุไวไฟหรือว่าแก๊สหุงต้ม หากมีพื้นที่จำกัดก็ควรเลือกที่ขนาดไม่ใหญ่จนเกินไปนัก ซึ่งถ้าเป็นเครื่องอบผ้าโดยเฉพาะแน่นอนว่าควรอยู่ไม่ห่างจากเครื่องซักผ้าด้วย ดังนั้นก่อนซื้อต้องหาสถานที่ตลอดจนวัดขนาดบริเวณให้เรียบร้อยก่อน เมื่อติดตั้งจริง ๆ จะได้ไม่มีปัญหาให้ปวดหัว
ซึ่งหากมีพื้นที่เหลือเฟือ การเลือกเครื่องอบผ้าระบบท่อลมร้อนก็เป็นทางเลือกที่ดี เพราะมีราคาไม่สูงเท่าไหร่นัก ที่สำคัญยังใช้เวลาอบที่สั้นกว่า ได้ผ้าที่แห้งสนิทในเวลาไม่นาน แต่ถ้าหากมีพื้นที่การใช้งานที่ค่อนข้างจำกัดจริง ๆ ขอแนะนำให้เลือกเครื่องอบผ้าระบบควบแน่นแทน แต่อาจจะมีราคาที่สูงกว่า 
คุณสมบัติพื้นฐานที่เครื่องอบผ้าต้องมี 
ก่อนจะไปดูถึงความพิเศษและคุณสมบัติอื่น ๆ ของเครื่องอบผ้าควรเริ่มต้นจากคุณสมบัติพื้นฐานกันก่อน โดยสิ่งที่เป็นเช็คลิสต์ซึ่งควรพิจารณามีดังนี้
สามารถเลือกระดับความแห้งว่าจะให้แห้งสนิทหรือให้หมาด ๆ 
ได้ตามต้องการ
ตั้งเวลาที่จะเริ่มทำการอบผ้าได้เพื่อการวางแผนจัดการในการซักการอบผ้าได้รวดเร็ว
มีโปรแกรมการอบสำหรับเนื้อผ้าที่แตกต่างกันเช่น ฝ้าฝ้าย 
ผ้าสังเคราะห์ ผ้ากีฬา หรือ ขนสัตว์ เป็นต้น
เมื่อเสร็จกระบวนการอบต้องมีเสียงแจ้งเตือนเพื่อให้ผู้ใช้ได้เก็บผ้าและปิดเครื่อง

วัสดุและงานประกอบแข็งแรง เหมาะกับสภาพแวดล้อมที่ติดตั้ง
มีมาตรฐานป้องกันอุบัติเหตุเกี่ยวกับไฟฟ้าจากองค์กรหรือสำนักงานซึ่งมีมาตรฐานระดับสากล
ฟังก์ชั่นเสริมที่สร้างความสะดวกสบายในการใช้เครื่องอบผ้า
ฟีเจอร์เสริมเหล่านี้ถูกเพิ่มเข้ามาเพื่ออำนวยความสะดวกสบายในการใช้งานเครื่องอบผ้า ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานว่าต้องการใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติเหล่านี้ในชีวิตประจำวันหรือไม่หรือไม่ ซึ่งฟีเจอร์ที่นิยมในปัจจุบันมีดังนี้
โปรแกรม Extra Dry สำหรับกลุ่มเสื้อผ้าที่มีขนาดใหญ่ อุ้มน้ำมาก
อย่างเช่นเสื้อกันหนาว ผ้าห่ม ผ้านวม ให้แห้งอย่างรวดเร็ว
โปรแกรม Delicate การอบเสื้อผ้าราคาแพง หรือว่าผ้าเนื้อบาง พวกผ้าบาง ลูกไม้ ที่มีความละเอียดมาก ๆ และไม่ควรที่จะอบผ้าเนื้อบางรวมกับผ้าชนิดอื่น ๆ 
เมื่อต้องเร่งรีบมาก ๆ สามารถใช้โปรแกรม Quick Dry ที่เร่ง
ความเร็วการอบแบบสุด ๆ ชนิดที่ว่าทานอาหารเช้าเสร็จแล้ว
ใส่ออกจากบ้านไปทำงานเลยยังทัน
เซนเซอร์ตรวจจับความชื้นของเนื้อผ้า ส่วนมากจะมากับเครื่องซักอบผ้า เซนเซอร์จะจับและสามารถตั้งเวลาให้พอดีที่จะทำให้ผ้าแห้งเองอัตโนมัติ
ในรุ่นใหม่ราคาสูง ๆ เริ่มมีการใส่ระบบ IoT (Internet of Thing) 
เชื่อมต่อกับ Smart Device เพื่อการใช้งานอย่างอิสระ
มีประสิทธิภาพมากขึ้น
อย่ามองข้ามเรื่องการประหยัดไฟจากฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 แบบใหม่
ขอบคุณภาพประกอบจากเว็บไซต์ กฟฝ. http://labelno5.egat.co.th
เครื่องอบผ้าถึงแม้ว่าจะไม่ได้ใช้งานอยู่ตลอดเวลาแต่ถ้ายิ่งมีการใช้งานบ่อยเท่าไหร่ ก็ต้องใช้กำลังไฟตามความถี่ด้วย ทาง กฟผ. จึงกำหนดมาตรฐานการประหยัดไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้ารวมถึงเครื่องอบผ้าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 ในรูปแบบฉลากแสดงตัวเลขการประหยัดไฟ ช่วยให้ผู้บริโภคเลือกตัดสินใจซื้อเครื่องอบผ้าได้ง่ายขึ้น โดยเครื่องอบผ้าที่ได้รับการติดฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 จะต้องผ่านการทดสอบจาก สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (สฟอ.) ด้านพลังงานและด้านปริมาตรเรียบร้อยแล้ว ในระยะหลังได้เพิ่มความสะดวกสบายมีการเพิ่ม QR Code เพื่อไว้สแกนกับ App “Label No.5” เพื่อตรวจสอบข้อมูลและป้องกันสินค้าที่ใช้ฉลากเบอร์ 5 ปลอม
ขอบคุณภาพประกอบจากเว็บไซต์ กฟฝ. http://labelno5.egat.co.th
โดยตั้งแต่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นมาทาง กฟผ. ได้ประกาศใช้ “ฉลากเบอร์ 5 แบบใหม่” ซึ่งหลัก ๆ มีการเพิ่มดาวขึ้นมาบนฉลาก 4 รูปแบบคือ แบบไม่มีดาว จะประหยัดไฟเหมือนกับเบอร์ 5 เดิมทุกประการ และ แบบ 1 ดาว แบบ 2 ดาว แบบ 3 ดาว โดยทั้ง 3 แบบหมายถึงยิ่งดาวเยอะจะยิ่งมีประสิทธิภาพประหยัดไฟมากขึ้นนั่นเอง  นอกจากนี้ที่ตัวฉลากยังมีข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นให้ได้พิจารณากัน
บริการหลังการขาย
เครื่องใช้ไฟฟ้าใด ๆ ก็ตาม ย่อมต้องมีการเสื่อมอายุลงตามกาลเวลาโดยเครื่องอบผ้าแต่ละแบรนด์แต่ละรุ่นก็มีการรับประกัน และเงื่อนไขการซ่อมแซมที่แตกต่างกันไป การพิจารณาถึงการรับประกันและบริการหลังการขาย จะช่วยให้ผู้ซื้อไม่ต้องปวดหัวหากเครื่องอบผ้ามีปัญหา ลองเลือกแบรนด์ที่น่าเชื่อถือ และศึกษาบริการหลังการขายของแบรนด์และตัวแทนจำหน่ายให้ดี ไม่ว่าจะเป็นบริการซ่อมอย่างรวดเร็วทันใจ หรือการเปลี่ยนเครื่องใหม่ตามเงื่อนไขที่กำหนด
เลือกซื้อเครื่องอบผ้ากับ Power Buy พร้อมคุณภาพสินค้าและการบริการที่คุณพอใจ
สำหรับใครที่กำลังมองหาเครื่องอบผ้าดี ๆ ไว้ประจำบ้านหรือที่พัก Power Buy ได้รวบรวมเครื่องอบผ้าคุณภาพดีฟีเจอร์โดนใจจากหลากหลายแบรนด์มาให้ได้เลือกกันอย่างจุใจผ่านชองทางออนไลน์ ครบด้วยบริการติดตั้งและจัดส่งฟรีตามเงื่อนไข Power Buy Promises พร้อมโปรโมชั่นเพื่อการ Shop ไร้ขีดจำกัดของคุณอีกมากมาย!